วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550




Posted by Picasa

ภาพประกอบบทความ "คนเลี้ยงควายแห่งเทือกเขาภูพาน จะเลี้ยงควายและให้ควายเลี้ยงอย่างนี้ต่อไป " ชุดที่7




Posted by Picasa

ภาพประกอบบทความ "คนเลี้ยงควายแห่งเทือกเขาภูพาน จะเลี้ยงควายและให้ควายเลี้ยงอย่างนี้ต่อไป " ชุดที่6




Posted by Picasa

ภาพประกอบบทความ "คนเลี้ยงควายแห่งเทือกเขาภูพาน จะเลี้ยงควายและให้ควายเลี้ยงอย่างนี้ต่อไป " ชุดที่5




Posted by Picasa

ภาพประกอบบทความ "คนเลี้ยงควายแห่งเทือกเขาภูพาน จะเลี้ยงควายและให้ควายเลี้ยงอย่างนี้ต่อไป " ชุดที่4




Posted by Picasa

ภาพประกอบบทความ "คนเลี้ยงควายแห่งเทือกเขาภูพาน จะเลี้ยงควายและให้ควายเลี้ยงอย่างนี้ต่อไป " ชุดที่3




Posted by Picasa

ภาพประกอบบทความ "คนเลี้ยงควายแห่งเทือกเขาภูพาน จะเลี้ยงควายและให้ควายเลี้ยงอย่างนี้ต่อไป " ชุดที่2




Posted by Picasa

ภาพประกอบบทความ "คนเลี้ยงควายแห่งเทือกเขาภูพาน จะเลี้ยงควายและให้ควายเลี้ยงอย่างนี้ต่อไป " ชุดที่1




Posted by Picasa

คนเลี้ยงควายแห่งเทือกเขาภูพาน จะเลี้ยงควายและให้ควายเลี้ยงอย่างนี้ต่อไป

สังคมเปลี่ยนไปมากในยุคปัจจุบัน ควายเป็นสัตว์ที่มีคุณค่าที่สุดชนิดหนึ่งถ้านับย้อนหลัง 20 ปีขึ้นไปไม่รู้กี่ชั่วอายุคน ควายเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยตลอดมา ในชนบททุกบ้านจำเป็นต้องมีควายไว้ใช้แรงงาน มาถึงปัจจุบัน ควายเริ่มเลือนหายไปจากความทรงจำ การผลิตเปลี่ยนถ่ายจากแรงงานคนและแรงงานสัตว์ไปเป็นเครื่องจักร จากสัตว์ที่มีคุณค่าที่สุดในสายตาของคนทั่วไปแปรเปลี่ยนไปเป็นไม่เห็นคุณค่าและจากท้องทุ่งเกษตรกรรมแปรเปลี่ยนไปเป็นอุตสาหกรรม น้องคนนักในปัจจุบันที่จะเลือกเลี้ยงควายไว้ในบ้าน การเลี้ยงควายถูกแปรเปลี่ยนวัตถุประสงค์ใหม่จากใช้แรงานไปเป็นเพื่ออนุรักษ์และเพื่อเป็นอาหารแทน คนที่เลียงความ ถูกมองว่าเป็นคนจน ไร้เกียรติ นี่คือแรงเสียดทานอีกอย่างหนึ่งของคนที่มีอาชีพเลี้ยงควาย
ฮุย ฮุย เป็นเสียงไล่ วัว ควายของคนอีสาน ซึ่งพอจะได้ยินอยู่บ้างตามถนนหนทางที่ชาวบ้านไล่ไปเลี้ยงตามป่าโคกในตอนเช้า และไล่กลับบ้านในตอนเย็น ซึ่งเป็นแหล่งเดียวที่ยังเหลือพอจะให้เลี้ยงได้บ้างในฤดูทำนา เป็นโอกาสที่ผมได้พบลุงทาหรือคนแถวบ้านรู้จักกับแก่ในนาม “ลุงทิศทา” หรือคุณลุงทา นิลทะราช ซึ่งเป็นอีกคนหนึ่งที่เลี้ยงควายมาแล้วเกือบจะ 20 ปีและผมได้สอบถามความเป็นมาเป็นไปของการได้มาเป็นคนเลี้ยงควายของคุณลุง คุณลุงทาได้เล่าให้ผมฟังว่า “ควายตัวแรกที่เลี้ยงเป็นควายตัวผู้ ที่พ่อตามอบให้ไว้ใช้ไถนา ผมเลี้ยงไว้ได้ไม่นานก็ขายควายตัวผู้ออกไปแล้วซื้อควายตัวเมียมาหนึ่งตัวเพราะควายตัวผู้เลี้ยงแล้วไม่ให้ลูก จะเท่าเดิมตลอด เลี้ยงได้ไม่นานผมก็ซื้อแม่พันธ์มาเพิ่มอีกหนึ่งตัว รวมมีแม่พันธ์ทั้งหมด 2 ตัวในตอนเริ่มแรก แล้วเลี้ยงมาเรื่อยๆ จนถึงเมื่อประมาณปี 4-5 ปีที่ผ่านมาอยากลองมาทำอย่างอื่นบ้างนอกจากเลี้ยงควาย เห็นเขาปลูกส้มกัน ก็ลองกับเขาเหมือนกัน ไม่ไหว ไม่ได้ผล หมดไปเยอะเหมือนกัน”
ลุงทายังเล่าให้ฟังอีกว่า “ตั้งแต่เลี้ยงมาถ้าไม่ขายก็เกือบจะเป็นร้อยแล้วหละ”
แล้วทำไมลุงไม่เลี้ยงไว้ให้เยอะๆ ครับทำเป็นฟาร์มใหญ่เลย “ไม่ไหวหรอกครับเลี้ยงไว้เยอะไม่มีที่จะเลี้ยง อีกอย่างถ้าจะทำให้เป็นฟาร์มใหญ่ไม่มีทุนครับ”
อย่างนั้นก็แสดงว่าปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งในการเลี้ยงควายของลุงคือทุ่งหรือสถานที่เลี้ยงแล้วลุงแก้ปัญหายังไงครับ “ครับ จะว่าเป็นปัญหาก็ได้ครับ แต่จะเป็นปัญหาเฉพาะฤดูทำนา เพราะที่ป่าโคกที่เคยเลี้ยงเมื่อสมัยแต่ก่อน เจ้าของที่ก็หันมาปลูกยางพาราบ้าง ยูคาลิปตัสบ้าง หรือบางเจ้าไม่ทำอะไรก็ให้คนเช่าทำสวนอ้อย การแก้ปัญหาก็ต้องควบคุมไม่ให้มากเกิน 30 ตัว และก็คงต้องปลูกหญ้าไว้บ้างแล้ว จะมีปัญหายังไงผมก็ไม่เลิกเลี้ยงควายหรอกครับ ยังไงก็ต้องค่อยๆ ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ครับตามสภาพบ้านเมืองของเรา”
ตอนนี้ลุงมีควายทั้งหมดกี่ตัวครับ “ตอนนี้มีทั้งหมด 18 ตัวครับ ที่เป็นแม่พันธุ์ได้แล้วมี 6 ตัว และจะเป็นแม่พันธุ์ได้ในปีนี้มีทั้งหมด 3 ตัว ที่เหลือเป็นควายเด็กๆ และควายกำลังจะคลอดเดือนหน้านี้ก็ 3 ตัวครับ”
ทำไมคุณลุงถึงเลือกที่จะเลี้ยงควายครับเพาะตามที่ผมเห็นชาวบ้านส่วนมากก็เลี้ยงวัวกัน “ควายเลี้ยงง่ายครับ ไม่มีปัญหา ไม่ค่อยป่วยไม่ค่อยเป็นโรค ฝนตก ก็ไม่มีปัญหาครับ แต่จริงๆ แล้วในตอนแรกกลัวควายจะสูญพันธุ์ครับ กลัวลูกหลานไม่รู้จักควาย อีกอย่างหนึ่งควายเป็นสัตว์มีคุณกันคนเราเป็นอย่างมาก ลูกหลานและสังคมจะต้องไม่ลืมบุญคุณควาย”
คุณลุงคิดอย่างไรกับสังคมที่กำลังเปลี่ยนไปคนส่วนมากกำลังจะพากันลืมควายหมดแล้ว “ก็อย่างที่ลุงบอกคุณไปแล้ว เมื่อก่อนตอนที่ผมเริ่มเลี้ยงใหม่ๆ ตกใจ ใจหายกลัวควายจะสูญพันธุ์ กลัวจะไม่มีควายให้ลูกให้หลานได้เห็นกัน ลำบากหน่อยก็ทนเอา มีคนหาว่าบ้าก็ไม่เป็นไร เพราะตอนนั้นคนส่วนมากพากันขายควายกันหมด ไปซื้อรถไถนา มีผมเจ้าเดียวมั้งที่ยังเลี้ยงควายอยู่ตอนนั้น ผมก็ซื้อรถไถนาแต่ผมไม่ขายควายหมดยังเลี้ยงต่อมาเรื่อยๆ แต่ตอนนี้ไม่กังวลแล้ว ชาวบ้านพากันกลับใจแล้ว เท่าที่ผมเห็นตอนนี้ภายในหมู่บ้านเริ่มมีคนเลี้ยงมากขึ้น ยิ่งตอนนี้มีโครงการธนาคารโค กระบือ เป็นโครงการพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นำควายมามอบให้เกษตรกร ครอบครัวละ 1 ตัว โดยให้เลี้ยง 5 ปี แล้ว ส่งคืนลูกให้กลุ่ม จำนวน 1 ตัว ซึ่งเป็นโครงการที่ดีที่สุด ทำให้ควายเริ่มกลับมาในชุมชน และในสังคมไทยอีกครับ ดีใจครับ”
คุณลุงรู้สึกอย่างไรกับการที่มีคนเอาความมาเปรียบเทียบกับควาย “เคยได้ยินเหมือนกันว่า โง่เหมือควายบ้าง จริงๆ ควายมันไม่โง่หรอกครับ ควายมันฉลาด ดูอย่างควายผมมีชื่อทุกตัว เวลาไปเลี้ยงจะเข้าสวนคนอื่นผมแค่เรียกชื่อก็หันหลังกลับแล้ว มันจำได้เพราะมันไม่โง่ ส่วนจะเปรียบว่าผมโง่เหมือนควาย รู้สึกธรรมดา คิดได้ก็คิดไป ห้ามความคิดคนอื่นไม่ได้ เราทำแล้วมีความสุขก็พอ”
ลุงเลี้ยงมาตั้งนานมีเทคนิค หรือเคล็ดลับอะไรบ้างครับ “ไม่มีอะไรพิเศษครับ แค่มีใจรัก ดูแลเอาใจใส่ แค่นี้ก็พอแล้วครับ ผมไม่มีอะไรพิเศษมากกว่านี้ แค่นี้ก็เกินพอแล้ว เช้าก่อนปล่อยควายออกจากคอกผมก็จะมาหาควายที่คอก ก่อนจะไปกินข้าวแล้วแต่งตัวชุดทำงาน มาปล่อยควายไปเลี้ยง ถ้ามันผิดปกติอะไรผมก็รู้ เพราะอยู่ด้วยกันทั้งวัน จะว่าไม่มีก็ไม่ใช่สินะ ลุงขอฝากเทคนิคของลุงไว้ให้ผู้ที่กำลังจะเลี้ยงควาย ประการหนึ่งต้องรัก ประการที่สองต้องใส่ใจ ถ้าทำตามที่ลุงบอกนี้ รับรองเลยไม่ขาดทุนแน่นอน”
ลุงให้ความสำคัญกับควายเพียงใด “มากครับ จะหนาวจะร้อน ฝนจะตกแดดจะออก ก็ต้องไปเลี้ยง ดูแลให้ดีไม่ให้เจ็บไข้ได้ป่วย”
หากคุณลุงต้องการให้คนหันมาเลี้ยงควายมากขึ้นต้องทำอย่างไรบ้างครับ “ไม่ต้องทำอะไรมากครับ แค่ทำให้ดู ก็พอ ผมอดทนเลี้ยงมาเรื่อย ๆ เกือบจะทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมมี ก็ได้มาจากควาย คนอื่นก็เห็น ผมไม่มีหนี้ อยู่แบบสบาย มีความสุข ถ้าจะให้ไปชวนคนอื่นเลี้ยงคงยาก ผมก็คงต้องทำให้ดู ทำเป็นแบบอย่างให้คนอื่นเห็น แค่นี้ครับ”
ตั้งแต่คุณลุงเลี้ยงควายมาเคยเจอปัญหาอะไรร้ายแรงบ้างครับ “มีอยู่ ๒ ครั้งครับ ครั้งแรกผมไปเลี้ยงใกล้สวนยางพารา คือสวนยางจะใช้ยาฆ่าหญ้าไม่ตายควายผมก็เล็มรอบๆ สวน กลับมา ตอนเช้าควายผมมีอาการผิดปกติ ท้องโต ป่วยเกือบปี ไม่ได้ผสมพันธุ์เลยปีนั้น อีกครั้งหนึ่ง มีคนมาพ่นควันไล่ยุง แถวๆบ้าน ผมเห็นว่าแถวคอกควายผมมียุงเยอะ ผมจึงให้เขาไปพ่นให้ พ่นเข้าไปในคอกควายเลย พ่นใส่ควายเลย ไม่ถึง ๒ สัปดาห์ ควายผมแท้งหมดเลย ๕ ตัว จึงอยากฝากบอก คนที่เลี้ยงวัว เลี้ยงควายว่า ห้ามเลี้ยงใกล้ส่วนที่ฉีดยาฆ่าหญ้า และห้ามฉีดยาพ่นควันไล่ยุงใกล้วัวควายที่ท้อง”
ในแต่ละวันคุณลุงต้องทำอะไรบ้างครับและเตรียมตัวอย่างไรบ้างครับ “ตื่นนอนตอนเช้าผมจะไปดูควายที่คอกทุกวัน แล้วกลับมากินข้าว แต่งตัวเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นในการไปเลี้ยงควาย ที่ขาดไม่ได้คือ หนังสติก ห่อข้าว ฤดูฝนขาดไม่ได้อีกอย่างคือ ร่ม แค่นี้ก็พร้อมแล้วครับๆ ผมจะนำควายออกไปเลี้ยงประมาณ 9 โมงเช้า ไม่เกินนี้ครับ”
ควายคุณลุงมีแต่ตัวสวย ใช้พ่อพันธุ์จากไหนครับ “เมื่อก่อนผมมีพ่อพันธุ์เอง ตอนนี้ขายออกแล้ว เพราะมีคนบอกว่าใช้พ่อพันธุ์ตัวเดิมนานๆ ลูกจะเล็กและไม่สมบูรณ์ ผมจึงไม่มีพ่อพันธุ์ เมื่อปีที่แล้ว ก็ลองผสมเทียมดูตัวหนึ่ง ไม่รู้เอาอะไรมาให้ผม เป็นควายตู้ ไม่ใช่ควายเขายาว ในปีนี้ผมคิดว่าจะใช้พ่อพันธุ์ควายที่ได้รับพระราชทานมาจากโครงการธนาคารโค-กระบือ ที่ได้รับมา 1 ตัว ตอนนี้ก็กำลังหาพ่อพันธุ์งามๆ อยู่เหมือนกันเอามาไว้เป็นพ่อพันธุ์ไว้คุมฝูง”
คุณลุงไม่คิดจะผสมเทียมดูอีกหรือครับ เห็นพ่อพันธุ์ของกรมปศุสัตว์มีสวยๆ เยอะนะครับ “ไม่เอาหรอก ไม่มั่นใจ สวยนะมีจริง แต่ที่เอามาให้เราไม่รู้จริงหรือเปล่า ผสมจริงดีกว่า มั่นใจ เห็นตัวเป็น ๆ อีกอย่างผมคิดว่าทางราชการยังไม่การส่งเสริมการเลี้ยงควายเท่าที่ควร ควรมีการส่งเสริมมากกว่านี้ ต้องมีการพัฒนาพ่อแม่พันธุ์ที่ดีให้แก่เกษตรกรอย่างทั่วถึง ถ้าจะให้มีการยอมรับเรื่องการผสมเทียม ต้องมีการรับประกันให้เกษตรกรด้วยในช่วงแรกๆ เพราะการสร้างความเชื่อมั่นให้เกษตรกรนั้นสำคัญมาก ทุก ๆ คนก็ต้องการควายที่ดี สวยงามกันทั้งนั้น”
ใครมาจัดการเรื่องโรค หรือดูแลให้ครับ “ผมใช้บริการหมออาสาครับ ทั้งฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ และถ่ายพยาธิ ผมจำทำทุก 6 เดือนครับ ยาถ่ายพยาธิผมซื้อเอง ส่วนวัคซีนป้องกันโรค ไม่ได้จ่าย จ่ายแค่ค่าฉีดให้หมออาสาบ้าง”
หากมีคนมาซื้อควายคุณลุงไปเชือดจะรู้สึกอย่างไรครับ “ตอนนี้ไม่รู้สึกอะไรแล้วหละ เป็นธรรมดา ควายพอไม่ได้ทำงานเลี้ยงคนก็ใช้เนื้อเป็นอาหารเลี้ยงคน เพราะถ้าเลี้ยงมากๆ แล้วไม่ขาย ก็เลี้ยงไม่ไหว อีกอย่างคนที่มาซื้อก็มีแต่พ่อค้าทั้งนั้น เราก็กำหนดไม่ได้ว่าซื้อไปเชือดหรือซื้อไปเลี้ยง เราต้องอยู่ต้องกิน มีคนมาซื้อ ให้ราคาดี เราต้องการขายก็ขายออกไป”
คุณลุงยังเล่าให้ฟังอีกว่า “ปีนี้แย่หน่อย ควายไม่ค่อยได้ราคา เมื่อก่อนอย่างน้อย ก็ตัวละ 13,000 – 15,000 บาท บางตัวใหญ่หน่อย งามหน่อย 20,000 กว่า ๆ ก็มี ผมจะขายปีละ 3-4 ตัว ส่วนมากควายที่ผมขายจะเลือกควายตัวผู้ ถ้าเป็นตัวเมียส่วนมากจะเก็บไว้เป็นแม่พันธุ์ หากมีคนมาซื้อไปเลี้ยงก็ให้แม่พันธุ์ตัวงามไปบ้าง”
สุดท้ายคุณลุงมีอะไรจะฝากถึงเกษตรกรที่กำลังจะหันมาเลี้ยงควายบ้าง “อย่างแรกเลยต้องมีใจรักครับ ต่อมาก็ต้องอดทน เพราะเลี้ยงควายเห็นผลช้า เป็นปีกว่าจะเห็นผล อีกอย่างหนึ่งเลี้ยงใหม่ ๆ อย่างทิ้งงานหลัก ให้ทำควบคู่กันไป อย่างไรก็ตามอยากเชิญชวนเกษตรกรหันมาเลี้ยงควายกันมากๆ เพื่อควายจะได้อยู่กับสังคมไทยต่อไป อย่างน้อยก็เลี้ยงไว้เป็นเงินออม เลี้ยงไว้เป็นโรงงานปุ๋ยเคลื่อนที่ที่มีชีวิตไว้ใส่พืชผลต่างๆ ที่สำคัญควายเลี้ยงไม่ยากครับ
คุณลุงยังฝากบอกว่า หากสนใจเรื่องการเลี้ยงควาย อยากมาคุย อยากมาเยี่ยมเยียน สามารถมาพบได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 06.00 – 09.00 น. ที่ บ้านเลขที่ 230 หมู่ 3 บ.โนนเรือ ต.นาหัวบ่อ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร 47220


Posted by Picasa